สถานการณ์การผลิตลำไย ปี 2563 จังหวัดพะเยา

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 23 พฤศจิกายน 2563
โดย : สำนักงานเกษตร จังหวัดพะเยา
ผู้เข้าชม : 962 คน
สถานการณ์การผลิตลำไย ปี 2563 จังหวัดพะเยา

ข้อมูลพื้นฐาน

  • เนื้อที่ยืนต้น  60,852 ไร่ (ปี 62 ยืนต้น 60,782 ไร่  ปลูกใหม่ 72 ไร่ โค่น 2 ไร่)

  • เนื้อที่ให้ผล  58,618 ไร่ (ปี 62 ให้ผล 56,888 ไร่ ให้ผลปีแรก 1,732 ไร่ )

  • พันธุ์ที่ปลูกมากได้แก่ อีดอ 97%

  • เป็นพันธุ์อื่นๆ เช่น พันธุ์แห้ว สีชมพู และเบี้ยวเขียว  3%


 

สถานการณ์ปัจจุบัน (การออกดอก)


 

ภาพใบและยอดก่อนแทงช่อดอก

 

ภาพลำไยช่วงแทงช่อออกดอก


 

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบ

  • ปริมาณน้ำ ปี 2562 มีปริมาณน้ำฝนลดลง ทำให้แหล่งน้ำธรรมชาติซึ่งเป็นแหล่งน้ำหลักในพื้นที่ปลูกลดน้อยลง หากได้รับน้ำปริมาณไม่เพียงพอ จะทำให้คุณภาพผลผลิตลดลง และเสียหาย

  • อุณหภูมิ อุณหภูมิที่สูงจะทำให้ผิวไหม้ แตกเสียหาย


 

คาดการณ์ผลผลิตลำไยพะเยา ปี 2563

  • ผลผลิตคาดการณ์  28,440 ตัน (+35.29 % , ปี 62  21,021 ตัน)

หมายเหตุ ข้อมูล ณ 17 ม.ค.63 ช่วงการออกดอกยังไม่สิ้นสุด ยังมีปัจจัยด้านปริมาณน้ำและอุณภูมิในช่วงการพัฒนาผล


 

แผนบริหารจัดการผลผลิต


 

ลำไย ปีเพาะปลูก 2562 และปี 2563 ของจังหวัดพะเยา

จังหวัด/อำเภอ เนื้อที่ยืนต้น  ( ไร่) เนื้อที่ให้ผล ไร่) ผลผลิต ( ตัน) ผลผลิตต่อเนื้อที่ให้ผล (กก./ไร่)
2562 2563 2562 2563 2562 2563 2562 2563
 พะเยา 90,213  96,780  77,673  79,737  28,479  31,716  367  398 
 เมืองพะเยา  6,185  6,539  5,131  5,273  1,247  1,350  243  256 
 แม่ใจ  2,602   3,045  2,056  2,092  557  538  271  257 
 ดอกคำใต้  12,732  13,923   10,727  11,046  3,454  3,402  322  308 
 จุน  14,054  14,405  12,839  12,985  4,673  5,129  364  395 
 ปง  5,930  6,524  4,783  5,034  1,889  1,661  395  330 
 เชียงคำ  31,780  34,396  27,826  28,080  10,796  12,804  388  456 
 เชียงม่วน  7,574  8,016  6,424  6,784  3,109   3,358  484  495 
 ภูซาง  6,509  7,085  5,453  5,596  1,914  1,959  351  350 
 ภูกามยาว  2,847  2,847  2,434  2,847  840  1,515  345  532 

 

สถานการณ์การผลิต

  • เนื้อที่ยืนต้น เพิ่มขึ้นโดยปลูกแทนที่สวนยางพารา ลิ้นจี่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และบางส่วนปลูกแซมในพื้นที่ว่าง

  • เนื้อที่ให้ผล เพิ่มขึ้น จากเนื้อที่ปลูกใหม่ ปี 2560 และให้ผลเป็นปีแรก
  • ผลผลิตต่อเนื้อที่ให้ผล เพิ่มขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็นต่อเนื่องในช่วงต้นปี เอื้ออำนวยต่อการออกดอกและติดผล
  • แต่ในช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย. สภาพอากาศร้อน และแห้งแล้ง เกษตรกรบางส่วนสามารถจัดหาแหล่งน้ำสำรอง เพื่อใช้ในสวนได้ 
  • แต่ส่วนใหญ่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้ผลลำไยมีขนาดเล็ก ไม่ได้คุณภาพ ผลผลิตต่อเนื้อที่ให้ผลจึงเพิ่มขึ้นไม่มากนัก